วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านลบ

ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านลบ
(Impact of Information Technology on the nagative side)


อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมย ข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำลายข้อมูลและไวรัส








อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
     
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
     
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
     
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
     
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
     
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
ตัวอย่างข่าวอาชญกรรมคอมพิวเตอร์
(5 ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน จูเนียร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อายุเพียง 14 ปี ชาวไต้หวัน ถูกจับกุมข้อหาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเขาเจาะข้อมูลทำให้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสปรากฏภาพมือเปื้อนเลือดบนหน้าจอ แม้แต่สถาบันเทคโลโลยีชื่อดังของไต้หวันที่มีการป้องกันอย่างเข้มงวดเขายังได้รับความเสียหาย
พ่อแม่ของจูเนียร์แฮกเกอร์ เล่าว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะพวกเขาทำงานหนักจนไม่มีเวลาใส่ใจ ลูกชายเป็นเด็กที่ชอบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สั่งซื้อหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จากอินเตอร์เน็ตมาศึกษาด้วยตนเอง พ่อแม่เห็นว่าลูกชายชอบทางด้านนี้จึงส่งเขาไปเรียนพิเศษที่ Chihlee Institute of Technology (CIT) เป็นสถาบันเทคโนโลยีชื่อดังของไต้หวัน โดยไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าลูกชายจะเป็นแฮกเกอร์
จูเนียร์แฮกเกอร์ ให้การต่อศาลว่า ตอนที่เข้าเรียนนั้นตนรู้สึกกดดันและทรมาณมาก ด้วยความที่ต้องการระบายอารมณ์และอยากลองทดสอบความสามารถของตัวเอง เขาเลือกสถาบันเทคโนโลยีที่เขาเรียนพิเศษอยู่เป็นเป้าหมาย
ตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ชี้ให้เห็นว่าจูเนียร์แฮกเกอร์คนนี้มีความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนมาก เขาได้แฮ็คเข้าไปในเว็บไซต์ซึ่งมีระบบการป้องการอย่างเข้มงวด ความสามารถของเขาน่าทึ่งมาก แม้แต่เขายังต้องศึกษาการเจาะระบบของเขาอย่างจริงจัง เพื่อใช้สำหรับการสอนในโรงเรียนตำรวจ
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบค้น IP และทำการตรวจค้นบ้านพักของเขา พบว่าห้องนอนของเขาเต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงหนังสือที่เป็นอักษรจีนตัวย่อซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการถอดเข้ารหัสลับระบบซอฟแวร์คอมพิวเตอร์
จากการสืบสวนพบว่า จูเนียร์แฮกเกอร์คนนี้ได้รวบรวมเทคนิคการเจาะข้อมูลที่เขาศึกษาด้วยตนเองแฮ็คเข้าสู่ระบบโฮสต์ของหลายเว๊ปไซต์ได้สำเร็จ เช่น เว๊ปไซต์ของโรงเรียนมัธยมที่เขากำลังศึกษาอยู่ , Chihlee Institute of Technology สถาบันเทคโนโลยีชื่อดังของไต้หวัน , นอกจากนี้เขายังแฮ็คข้อมูลของเว๊ปไซต์รวมสูตรอาหาร รวมถึงเว๊ปไซต์หนังและเพลงอีกด้วย